ความหมายของ”นาฏศิลป์”
ความหมายของรูปศัพท์ของคำว่านาฏศิลป์
มาจากคำ ๒ คำที่รวมอยู่ด้วยกัน คือนาฏ,
ศิลปะ ดัง
รายละเอียดกล่าวคือ
นาฏ ความหมายโดยภาพรวมของคำว่า นาฏ
ที่น่าสนใจคือ
นาฏ ความหมาย
ตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย (๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
นาฏ
ความหมายตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย (๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง การเคลื่อนไหวอวัยวะ,
นางละคร การฟ้อนรำ หรือ ความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ศิลปะ เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.ศิลปะ; ป.สิปุปะ ว่ามีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม)ซึ่งหมายถึง
การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงามน่าพึงชม
ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“Arts”( อมรา กล่ำเจริญ, ๒๕๔๒ : ๑)
ดังนั้นเมื่อประมวลทั้งสองคำมารวมเป็นคำว่า “นาฏศิลป์”
ที่นักวิชาการให้ความหมายไว้น่าสนใจ คือ
นาฏศิลป์ หมายถึง
ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่าง
ประณีตและมีแบบแผน ให้ความรู้
ความบันเทิง
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรืองของชาติได้เป็นอย่างดี
(สุมิตร เทพวงศ์,
๒๕๔๘ : ๒)
นาฏศิลป์ หมายถึง
การร่ายรำในสิ่งที่มนุษย์เราได้ปรุงแต่งจากธรรมชาติให้สวยสดงดงามขึ้น แต่
ทั้งนี้มิได้หมายถึงแต่การร่ายรำเพียงอย่างเดียว จะต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย จึงจะช่วยให้สมบูรณ์แบบตามหลักวิชานาฏศิลป์
(อาคม สายาคม,
๒๕๔๕ : ๑๕) นาฏศิลป์
เป็นคำสมาส ระหว่างคำว่า นาฏ กับคำว่า ศิลป์ คำว่านาฏ
หมายถึงการฟ้อนรำ การแสดงละคร ดังนั้นคำว่า
นาฏศิลป์ จึงหมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยอาศัยธรรมชาติเป็นแบบอย่าง (ลัดดา พนัสนอก, ๒๕๔๒ : ๒)
นาฏศิลป์ หรือนาฏศิลป์ หมายถึง
ศิลปะการฟ้อนรำ ทั้งที่เป็นระบำ รำ
เต้น และอื่น ๆ
รวมทั้งละครรำ โขน
หนังใหญ่ ฯลฯ
ปัจจุบันมักมีคนคิดชื่อใหม่ให้ดูทันสมัยคือ นาฏกรรม
สังคีตศิลป์ วิพิธทัศนา และศิลปะการแสดง
ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันเพราะเป็นคำที่ครอบคลุมศิลปะแห่งการร้อง การรำ
และการบรรเลงดนตรี (สุรพล
วิรุฬห์รักษ์, ๒๕๔๓ : ๑๒)
ดังนั้นความหมายของนาฏศิลป์กล่าวโดยสรุป
จึงหมายถึง
ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งที่เป็นระบำ รำ
เต้น และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ โขน
หนังใหญ่ ฯลฯ
โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผนที่สวยงาม ให้ความรู้
ความบันเทิงที่ต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น